บทความ

หลักเกณฑ์ และข้อกำหนดที่ควรรู้สำหรับท่อระบายน้ำคอนกรีต
ท่อระบายน้ำคอนกรีตมีการผลิตออกมาในหลากหลายรูปทรงและขนาดต่าง ๆ แต่ไม่ว่าท่อระบายน้ำคอนกรีตจะมีรูปทรงแบบใด ขนาดเท่าไหร่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงแรก ๆ เลย คือ ความปลอดภัยและคุณภาพหลังจากการนำไปใช้ ทำให้ท่อระบายน้ำคอนกรีตมีการควบคุมคุณภาพในทุก ๆ ท่อนและต้องผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วย ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการควบคุมคุณภาพของท่อระบายน้ำคอนกรีตในแต่ละขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การนำส่วนผสมมาใช้ การขึ้นรูปและการผลิต รวมไปถึงการสุ่มตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบความแข็งแรงและความปลอดภัยด้วย

หลักเกณฑ์ของท่อระบายน้ำคอนกรีตตาม มอก.
ท่อระบายน้ำคอนกรีตมักใช้ในโครงการใหญ่เป็นงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก การนำท่อระบายน้ำคอนกรีตมาใช้งานจึงต้องมีความแข็งแรงและปลอดภัยมากที่สุด สำหรับมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับท่อระบายน้ำคอนกรีต หรือ ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จ สำหรับงานระบายน้ำ ที่ออกมาเพื่อควบคุมท่อระบายน้ำคอนกรีตทุกท่อนนั้นจำเป็นต้องมีลักษณะและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่ตาม มอก. 128-2560 ดังนี้
- รูปแบบของท่อระบายน้ำคอนกรีต ท่อระบายน้ำคอนกรีตตามที่ มอก.128-2560 ระบุ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ ท่อระบายน้ำคอนกรีตแบบปากลิ้นราง และท่อระบายนน้ำคอนกรีตแบบปากระฆัง โดยท่อระบายน้ำคอนกรีตแต่ละแบบจะแบ่งออกเป็น 4 ชั้นคุณภาพ ได้แก่ คสล.1 คสล.2 คสล.3 และคสล.4 ซึ่งในบางครั้งอาจเรียกท่อระบายน้ำคอนกรีตเหล่านี้ว่า ท่อ มอก. ซึ่งจะแบ่งตามความแข็งแรงของท่อระบายน้ำโดยที่ ท่อ คสล.4 จะมีความแข็งแรงน้อยที่สุด ในขณะที่ท่อ คสล.1 เป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตที่มีความแข็งแรงมากที่สุด
นอกจากนี้ ท่อระบายน้ำคอนกรีตแต่ละแบบแต่ละท่อนจะมีเกณฑ์ที่ระบุถึงขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน และความหนา และมิติต่าง ๆ ของปากท่อระบายน้ำคอนกรีตเป็นเกณฑ์ ซึ่งจะเรียกรวม ๆ กันนี้ว่า “ขนาดและเกณฑ์ความคาดเคลื่อน” โดยขนาดและความยาวจะต้องเป็นไปตามคำแนะนำที่ มอก. กำหนด - ส่วนผสมของคอนกรีต คอนกรีตเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยในการขึ้นรูปของท่อระบายน้ำคอนกรีต ส่วนผสมที่สำคัญจึงได้แก่ มวลรวม น้ำ และปูนซีเมนต์ และอาจมีการผสมส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณสมบัติพิเศษของท่อระบายเพิ่มเติม เช่น สารเคมี หรือวัสดุเสริม เป็นต้น โดยส่วนผสมต่าง ๆ จะต้องได้รับการออกแบบส่วนผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งานที่มีความหลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อความปลอดภัย ความคงทน อายุการใช้งาน การป้องกันกรด ป้องกันการรั่วซึม หรือแม้แต่การช่วยลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการด้วย
สำหรับ มอก. 128-2560 ส่วนประกอบของท่อระบายน้ำคอนกรีตในแต่ละรูปแบบ จะต้องประกอบไปด้วย วัสดุประสาน เถ้าลอย มวลผสม สารผสมเพิ่ม เหล็กเสริม และน้ำ ตามที่ มอก. ระบุไว้ เช่น ถ้าในส่วนประกอบหลักของท่อระบายน้ำคอนกรีตเป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ การนำปูนชนิดนี้มาใช้จะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์ของ มอก. 15 เล่ม 1 ที่ระบุไว้ด้วย โดยต้องชั่งมวลของวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตทุกครั้ง ก่อนที่จะนำไปผสมคอนกรีตด้วยเครื่องเพื่อให้คอนกรีตผสมเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นใช้เครื่องเขย่า เพื่อให้เนื้อคอนกรีตแน่นเสมอกันไม่เกิดเป็นรูมดหรือเป็นฟองอากาศ - การเสริมแรงในท่อระบายน้ำคอนกรีต การนำเหล็กมาใช้ในการเสริมแรงของท่อระบายน้ำคอนกรีต เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานแรงดึงภายในท่อระบายน้ำคอนกรีต จะช่วยให้ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรงและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เมื่อท่อระบายน้ำมีความแข็งแรง โอกาสที่จะเกิดการทรุดหรือพังทลายจากแรงกดทับจะยิ่งลดน้อยลงเมื่อมีการนำไปใช้งานอย่างถูกประเภท ซึ่งความแข็งแรงของท่อระบายน้ำคอนกรีตขึ้นอยู่กับปริมาณเหล็กเสริม และขนาดของเหล็กเสริม สำหรับ มอก. 128-2560 หากมีการนำเหล็กเสริมมาใส่เพิ่มในคอนกรีตต้องดูว่าเหล็กเสริมที่นำมาใช้ต้องเป็นเหล็กชนิดใด ในกรณีที่มีการนำลวดเหล็กกล้าดึงเย็นมาเสริมภายในคอนกรีต จะต้องเลือกขนาดและลักษณะในตรงกับ มอก. 747 ของเหล็กกล้าดึงเย็นนี้ด้วยเช่นกัน
การทำการเหล็กเสริมภายในท่อระบายน้ำจะพิจารณาเป็น 2 ส่วน ตาม มอก. คือ เหล็กเสริมตามยาว และเหล็กเสริมตามขวาง โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้- เหล็กเสริมตามยาว :ท่อระบายน้ำคอนกรีตที่มีขนาดไม่เกิน 500 mm ต้องมีจำนวนเหล็กเสริมตามยาวต้องไม่น้อยกว่า 6 เส้น ส่วนท่อระบายน้ำคอนกรีตที่มีขนาดตั้งแต่ 600 mm ขึ้นไป ต้องมีจำนวนเหล็กเสริมตามยาวต้องไม่น้อยกว่า 8 เส้น กรณีวงเหล็กเสริมสองชั้น แต่ละชั้นต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 8 เส้น และต้องไม่มีการต่อเหล็กเสริมแต่อย่างใด ส่วนเหล็กเสริมตามยาวแต่ละเส้นต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 mm
- เหล็กเสริมตามขวาง : สำหรับท่อระบายน้ำคอนกรีตแต่ละขนาด แต่ละชั้นคุณภาพ จำเป็นต้องมีปริมาณเหล็กเสริมตามขวาง ระยะเรียงเหล็กเสริมตามขวางตลอดความยาวท่อ และความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมตามที่ระบุไว้ และสามารถต่อเหล็กเสริมตามขวางได้ แต่ต้องทาบเหล็กให้มีความเลื่อมกันไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในกรณีที่มีการเชื่อมกัน ต้องทาบเหล็กเสริมในเลื่อมกันไม่น้อยกว่า 50 mm
- ตรวจสอบคุณลักษณะให้เป็นไปตาม มอก. หลังจากผ่านขั้นตอนการผลิตท่อระบายน้ำคอนกรีตแล้วปล่อยท่อระบายน้ำค่อย ๆ ขึ้นรูปจนเสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตรวจสอบคุณลักษณะของท่อระบายน้ำคอนกรีต เพื่อดูว่าท่อระบายน้ำคอนกรีตมีความแข็งแรงเพียงพอต่อความต้องการและมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ โดยเริ่มจากการสังเกตภาพรวมของท่อระบายน้ำคอนกรีตด้วยตาเปล่าก่อน ท่อระบายน้ำคอนกรีตที่ดีนั้นต้องไม่มีรอยร้าว ผิวต้องเรียบ และไม่มีรอยตำหนิ จากนั้นจำเป็นต้องสุ่มนำตัวอย่างเพื่อไปทดสอบแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด รวมถึงความต้นแรงอัดเพื่อให้ได้ค่าตามที่ มอก.กำหนดในแต่ละขนาดและแต่ละชั้นคุณภาพของ ท่อระบายน้ำคอนกรีต
เมื่อท่อระบายน้ำได้ผ่านการตรวจสอบแล้วขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการประทับเครื่องหมายและฉลากบนท่อระบายน้ำคอนกรีตในแต่ละท่อน ได้แก่ ชั้นคุณภาพ ขนาด ความยาว วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ชื่อโรงงานผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ ดังนั้น ผู้ควบคุมงานก่อสร้างต้องสังเกตว่าท่อระบายน้ำคอนกรีตทุกท่อนมีเครื่องหมายและฉลากประทับไว้ พร้อมกับตรวจสอบใบรายงานการทดสอบที่เป็นไปตาม มอก. 128-2560 จะทำให้มั่นใจได้ว่าท่อระบายน้ำคอนกรีตทุกท่อนได้มาตรฐานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานหากนำไปใช้อย่างเหมาะสมอย่างแน่นอน
ทั้งหมดนี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่มีไว้เพื่อควบคุมมาตรฐานของท่อระบายน้ำคอนกรีต หรือ ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จ สำหรับงานระบายน้ำ ที่มีลักษณะเป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตทรงกลมเท่านั้น หากเป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมต่างก็มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานแตกต่างกันไปตามมาตรฐานกำหนดแต่ละประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกัน ได้แก่
- ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูปสี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ทางเท้า วัสดุถมไม่เกิน 3.0 m ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ มอก.1164-2559
- ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูปสี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ผิวจราจร วัสดุถมน้อยกว่าเกิน 0.6 m ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ มอก. 1165-2559
- ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จรูปสี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ผิวจราจร วัสดุถมระหว่าง 0.6 m ถึง 3.00 m ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ มอก. 1166-2559
นอกจากในส่วนของการวางโครงข่ายทางระบายน้ำที่ต้องพิจารณาข้างต้นแล้ว การระบายน้ำที่ดียังมีข้อกำหนดและกฎเกณฑ์การออกแบบทางด้านอุทกวิทยาด้วย ดังนี้
- อัตราน้ำไหลนอง: เป็นการคำนวณจากปริมาณน้ำฝนที่ตกในบริเวณพื้นที่ที่จะต้องระบายน้ำออกในรอบ 2 – 10 ปี ในแต่ละพื้นที่อาจมีข้อกำหนดในการนำรอบปีมาใช้ที่แตกต่างกัน เช่น บริเวณชุมชนที่ไม่หนาแน่นและมีปัญหาน้ำท่วมขังไม่มากอาจใช้รอบปีของการเกิดฝนเพียง 2 ปีเท่านั้น บริเวณย่านธุรกิจที่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังเป็นจำนวนมาก อาจใช้รอบปีในการเกิดฝน 10 ปี เป็นต้น
- ปริมาณน้ำฝน: การนำปริมาณน้ำฝนมาใช้จะคำนวณจากกราฟความสัมพันธ์ของความเข้ม ระยะเวลาที่ฝนตก และความถี่ของฝนในแต่ละพื้นที่
- ปริมาณน้ำไหลนอง: สำหรับปริมาณน้ำไหลนองทั้งหมดที่ใช้ในการออกแบบทางระบายน้ำนั้น จะใช้ปริมาณน้ำฝนกับปริมาณน้ำเสียในพื้นที่รวมกัน
- ปริมาณน้ำเสีย: คำนวณจากปริมาณน้ำที่คนในพื้นที่ใช้ในแต่ละวัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนและปริมาณน้ำแตกต่างกันตามความหนาแน่นของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่
ทั้งหมดนี้ เป็นการออกแบบทางระบายน้ำก่อนที่จะนำไปออกแบบสำหรับแนวทางการวางท่อระบายน้ำต่อไป