บทความ
ความแตกต่างของท่อ คสล. แต่ละประเภท
งานวางท่อ มักจะแบ่งตามลักษณะการใช้งาน คือ งานวางท่อระบายน้ำ และงานวางท่อรับแรงดัน ในกรณีที่เป็นงานวางท่อรับแรงดัน ท่อที่นำมาใช้จะได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อ PVC (สังเกตได้จากเป็นสีฟ้า) ท่อ HDPE (ลักษณะจะเป็นสีดำ) และท่อซีเมนต์ใยหิน สำหรับงานวางท่อระบายน้ำนั้นจะใช้เป็นท่อปูน และท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราจะนิยมใช้ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กกับงานวางท่อระบายน้ำมากกว่า
งานท่อระบายน้ำ เป็นหนี่งในส่วนสำคัญของการบริหารจัดการน้ำที่เกิดจากการใช้งานจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชีวิตประจำวันในย่านที่พักอาศัยหรือชุมชน การทำอุตสาหกรรม การทำการเกษตร หรือปริมาณน้ำฝนที่เป็นน้ำส่วนเกิน ท่อระบายน้ำจึงมีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำเสีย น้ำทิ้ง หรือน้ำส่วนเกินให้ออกจากพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการออกแบบโครงสร้างการวางท่อระบายน้ำทางวิศวกรรม เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพการใช้งานมากที่สุด สามารถรองรับน้ำได้ในปริมาณมาก และสามาถใช้งานได้อย่างยาวนาน ปัจจุบันท่อระบายน้ำสำเร็จรูปในท้องตลาดมีอยู่หลายประเภท และหลายรูปแบบให้ผู้ใช้งานได้เลือกตามความต้องการ ในบางโรงงานผู้ใช้งานยังสามารถเลือกขนาด ความแข็งแรงตามความต้องการได้ด้วย
ท่อระบายน้ำสำเร็จรูปมีกี่ประเภท
ท่อระบายน้ำที่นิยมนำไปใช้มักเป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากมีความทนทาน ต้นทุนไม่สูงมากนัก มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และนำไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปนั้น หลัก ๆ แล้วแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูป หรือที่เราเรียกว่า ท่อ คมล. เป็นท่อคอนกรีตไม่เสริมเหล็ก ทำให้ตัวท่อระบายน้ำมีเพียงเนื้อคอนกรีตเท่านั้น จึงเหมาะกับการนำไปใช้กับงานที่รองรับน้ำหนักไม่มาก เช่นทางเดินเท้า งานภายในหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีรถสัญจรไปมา เป็นต้น
- ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก เราเรียกท่อระบายน้ำนี้ว่า ท่อ คศล. ความพิเศษของท่อระบายน้ำประเภทนี้คือ มีการเสริมเหล็กเข้าไปในคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของท่อระบายน้ำ ทำให้ท่อระบายน้ำสามารถรองรับน้ำหนักของรถที่สัญจรไปมาได้มากขึ้น จึงเหมาะกับการนำไปใช้งานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง ซึ่งท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กนี้ก็ยังแบ่งแยกเป็นประเภทย่อย ๆ ไปอีกเช่นท่อ คสล.แบบธรรมดา และ ท่อ คสล. มาตรฐานมอก. เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ตรงกับความต้องการและทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อการใช้งานมากที่สุดด้วย
ประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ท่อ คศล.
เราจะไปดูว่าท่อ คศล. แต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานแบบไหน และต่างกันอบ่างไร เรามาทำความรู้จักกับท่อระบายน้ำเสริมเหล็กกันก่อนดีกว่า ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีตเหมือนกับท่อระบายน้ำ คมล. แต่ความพิเศษของท่อ คศล. คือ เป็นท่อระบายน้ำที่มีการเสริมประสิทธิภาพของคอนกรีตด้วยการเสริมแรงจากเหล็กเข้าไป เนื่องจากคอนกรีตมีความสามารถในการรองรับแรงอัดได้มาก แต่มีความสามารถในการรองรับแรงดึงได้ต่ำ ทำให้คอนกรีตมีความเปราะแตกหักได้ง่าย การเสริมเหล็กเส้นเข้าไปเพื่อทำให้คอนกรีตเกิดความแข็งแรง มีความทนทานมากขึ้น และสามารถรองรับน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเหล็กช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีตได้ดี
สำหรับเหล็กที่นิยมนำมาใช้ในงานเสริมคอนกรีต มักจะเป็นเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 6 – 25 มิลลิเมตร ในกรณีที่เป็นเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 10 – 40 มิลลิเมตร ทั้งนี้การจะนำเหล็กเส้นในลักษณะไหนมาใช้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และความแข็งแรงที่ต้องการ และเหล็กเสริมที่นำมาใช้นั้นต้องเป็นเหล็กใหม่ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานจากที่ไหนมาก่อน ควรปราศจากน้ำมันหรือสิ่งเจือปน และต้องมีตรา มอก. ทุกเส้น
ท่อ คศล. มักมีการผลิตตามแบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จสำหรับงานระบายน้ำ (มอก. 128-2560) อยู่แล้ว โดยท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถแบ่งได้ตามชั้นคุณภาพ 4 รูปแบบ ได้ดังนี้
- ท่อระบายน้ำ คศล.1 เป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กตามมาตรฐานอุตสาหกรรม คุณภาพชั้น 1 ซึ่งเป็นชั้นคุณภาพสูงที่สุด (ท่อ มอก.ชั้น 1) เหมาะสำหรับงานสนามบิน หรืองานท่าเรือ หรืองานที่ต้องรับน้ำหนักจำนวนมากเป็นพิเศษ
- ท่อระบายน้ำ คศล.2 เป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กตามมาตรฐานอุตสาหกรรม คุณภาพชั้น 2 (ท่อ มอก.ชั้น 2) เหมาะกับงานที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก มักใช้กับงานถนนที่เน้นการรับน้ำหนักมาก เช่น งานถนนบริเวณที่มีรถบรรทุกวิ่งผ่าน งานของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท โรงงานนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โรงแรม และงานศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น
- ท่อระบายน้ำ คศล.3 เป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กตามมาตรฐานอุตสาหกรรม คุณภาพชั้น 3 (ท่อ มอก.ชั้น 3) สามารถนำไปใช้กับงานที่ต้องการรองรับน้ำหนักเช่นเดียวกัน แต่อาจรองรับน้ำหนักได้ทั่วไป เหมาะกับการนำไปใช้งานงานถนนที่มีรถยนต์ทั่วไปวิ่งผ่าน เช่นงานราชการทั่วไป กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาล อบจ. อบต. โรงพยาบาล โครงการหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมีเนียม โรงงานทั่วไป เป็นต้น
- ท่อระบายน้ำ คศล.4 เป็นท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กตามมาตรฐานอุตสาหกรรม คุณภาพชั้น 4 เป็นชั้นคุณภาพต่ำที่สุด สามารถรองรับน้ำหนักได้น้อย เหมาะสำหรับนำไปวางไว้ในชุมชน ที่พักอาศัย ท่อชนิดนี้ในท้องตลาดจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก
- ปูนซีเมนต์ที่นำมาใช้ต้องเป็นไปตาม มอก.
- เถ้าลอย หากมีการนำมาใช้ในการผลิตท่อระบายน้ำต้องเป็นไปตาม มอก. 2135
- มวลผสมที่นำมาใช้ต้องเป็นไปตาม มอก. 755
- เหล็กเสริมที่เป็นส่วนสำคัญของการเสริมแรงของท่อระบายน้ำคอนกรีต ต้องเป็นไปตาม มอก. ดังนี้
- ลวดเหล็กกล้า ต้องเป็นไปตาม มอก. 747
- ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อย ต้องเป็นไปตามมอก. 943
- เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย ต้องเป็นไปตาม มอก. 24
- น้ำที่นำมาใช้ในการผสมคอนกรีต ต้องเป็นน้ำที่มีความสะอาดเพียงพอ คือ ต้องปราศจากกรด ด่าง น้ำมัน และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่อาจทำให้คุณภาพของคอนกรีตแย่ลง โดยสามารถนำน้ำประปามาใช้ได้ หากนำน้ำที่ไม่ใช่น้ำประปาจำเป็นต้องมีการทดสอบปริมาณสารที่เจือปนในน้ำก่อน ตาม มอก.
- การผสมคอนกรีต ต้องเป็นไปตามที่ มอก. กำหนด
- เหล็กเสริมที่นำมาใช้จะต้องมีลักษณะ ดังนี้
- เหล็กเส้นตามยาวแต่ละเส้น ต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4.00 mm โดยมีพื้นที่หน้าตัดขวางของเหล็กเส้นต้องไม่น้อยกว่า 12.57 mm2
- ในกรณีที่เป็นเหล็กเสริมตามยาว ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 6 เส้น สำหรับท่อระบายน้ำขนาดไม่เกิน 500 mm ในขณะที่ท่อระบายน้ำขนาดตั้งแต่ 600 mm ขึ้นไป ต้องมีจำนวนเหล็กเส้นตามยาวไม่น้อยกว่า 8 เส้น
- กรณีที่มีการเสริมวงเหล็กเส้นตามยาวสองชั้น แต่ละชั้นต้องมีจำนวนของเหล็กเส้นไม่น้อยกว่า 8 เส้น และไม่ต้องมีการต่อเหล็กเสริมแต่อย่างใด
- สำหรับเหล็กเสริมตามยาว ปริมาณไม่น้อยกว่าที่ มอก. กำหนด รวมถึงระยะเรียงเส้นตามขวางตลอดความขาวท่อด้วยเช่นกัน
- กรณีการต่อเหล็กเสริมตามขวาง ต้องมีการวางเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในกรณีที่ต่อกันโดยการเชื่อม ควรเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า 50 และควรมีความหนาของคอนกรีตหุ้มเหล็กเส้นให้เป็นไปตามที่ มอก. กำหนด
- การตรวจสอบด้วยตามเปล่า โดยพิจารณาจากรอยร้าวจากลักษณะของผิวท่อระบายน้ำโดยรอบ ตำหนิต่าง ๆ ต้องไม่เกิดความเสียหาย รวมถึงการทดสอบแรงอัดตกและแรงกดสูงสุด กับความต้านแรงอัด ต้องเป็นไปตามที่ มอก. กำหนด
หากผู้ผลิตนำวัสดุมาใช้ตามมาตรฐานของ มอก. มีการควบคุมการผลิต และการตรวจสอบคุณภาพอย่างเคร่งครัด โดยผู้ใช้งานสามารถสังเกตท่อระบายน้ำที่มีคุณภาพได้จาก “เครื่องหมายและฉลาก” ของ มอก. บนท่อระบายน้ำ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าท่อระบายน้ำที่นำไปใช้ทุกชิ้นผ่านกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การนำท่อระบายน้ำคอนกรีตมาใช้ควรกระทำอย่างระมัดระวัง ตั้งแต่การขนส่ง การยกท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูป การนำท่อระบายน้ำสำเร็จรูปมาวางเรียงกองไว้ก่อนจะนำไปใช้ การเคลื่อนย้าย และการติดตั้งท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูป เป็นต้น เพียงป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปเกิดความเสียหายหรือชำรุด