บทความ
บ่อพักคอนกรีตมีกี่ประเภท และควรเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม
บ่อพักคอนกรีต ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามการใช้งานเป็นหลัก ได้แก่
- บ่อพักคอนกรีต แบบ 1 ทาง คือ มีช่องเปิดเป็นรู 1 ทาง เหมาะสำหรับใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับงานวางท่อระบายน้ำระบบต่าง ๆ
- บ่อพักคอนกรีต แบบ 2 ทางที่ตรงกัน คือ มีช่องเปิดเป็นรู 2 ทาง ในแนวเดียวกัน บ่อพักแนวนี้มักนำไปใช้ในบริเวณส่วนกลางของงานวางระบบ หรือการแบ่งตามช่วงระยะของงานวางท่อระบายน้ำตามที่ได้รับการออกแบบไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมและดูแลรักษา เพราะถ้าท่อมาการวางต่อจนยาวเกินไปจะทำให้มีการดูแลรักษายาก
- บ่อพักคอนกรีต แบบ 2 ทางมุมตั้งฉาก คือ มีช่องเปิดเป็นรู 2 ทางที่ทำมุม 90 องศา เหมาะสำหรับงานวางท่อระบายน้ำระบบต่าง ๆ ที่อยู่ตามมุมของอาคารบ้านเรือน จุดเลี้ยว หรือตามจุดหักมุมพื้นที่ที่ผู้ออกแบบต้องการเปลี่ยนของท่อระบายน้ำ
- บ่อพักคอนกรีต แบบ 3 ทาง คือ มีช่องเปิดเป็นรู 3 ทาง เหมาะสำหรับการเปลี่ยนทิศทางท่อระบายไปยังทิศทางตรงกันข้าม
- บ่อพักคอนกรีต แบบ 4 ทาง คือ มีช่องเปิดรู 4 ทาง ที่ช่วยวางท่อระบายน้ำได้หลายทิศทางมากขึ้น
ตารางแสดงขนาดของบ่อพักและขนาดของท่อที่ใช้เชื่อม
ความสำคัญและหน้าที่ของบ่อพักคอนกรีต
บ่อพักคอนกรีต (Manhole) มีลักษณะเป็นห้องหรือช่องสี่เหลี่ยมที่สร้างขึ้นมา มักทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ด้านในจะเป็นช่องโล่งกว้างมีหลายขนาด และมักติดตั้งยังบริเวณใต้ดินร่วมกับท่อระบาย เพื่อให้คนสามารถเข้าไปทำการตรวจสอบ ซ่อมแซม ดูแล หรือทำความสะอาดสิ่งกีดขวางที่อาจเกิดขึ้นภายในท่อระบบงานต่างๆ เช่น งานวางท่อระบายน้ำ งานวางท่อน้ำประปา งานวางสายเคเบิล และงานวางสายไฟ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นบ่อพักสำหรับน้ำเสียหรือน้ำทิ้งของที่อยู่อาศัยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากห้องน้ำ ห้องครัว การซักผ้าซักล้างทำความสะอาดต่าง ๆ การดูแลสวน และน้ำฝนที่ตกลงมา ทั้งหมดนี้จะไหลไปตามท่อระบายน้ำของตัวบ้านไปยังบ่อพักน้ำทิ้ง เพื่อที่น้ำจะได้รับการบำบัดให้ตกตะกอนก่อนที่จะไหลออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป ส่วนตะกอนที่อยู่บริเวณบ่อพัก เราสามารถตักออกได้ เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้อย่างสะดวกมากขั้น การติดตั้งบ่อพักไม่ว่าจะเป็นงานลักษณะแบบไหน มักจะมีการกำหนดตามผู้เชี่ยวชาญ หรือกฏกระทรวง เพื่อใช้งานวางระบบมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูงที่สุด
สรุปแล้วบ่อพักมีไว้สำหรับเชื่อมท่อระบายน้ำ หรือเปลี่ยนทิศทางของท่อระบายน้ำ การจัดแนวทางการวางท่อระบบต่าง ๆ เป็นช่องทางสำหรับการดูแลรักษาท่อระบายน้ำ และช่องทางสำหรับเข้าไปตรวจสอบการวางระบบ
การเลือกใช้งานบ่อพักคอนกรีตให้เหมาะสมในแต่ละประเภท
ก่อนที่จะเลือกว่าควรใช้บ่อพักแบบไหนต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการนำไปใช้งานกับการก่อสร้างรูปแบบใด เช่น บ้านพัก คอนโดมิเนียม โรงงานอุตสาหกรรม ถนน และทางหลวง เป็นต้น เมื่อทราบแล้วเราต้องพิจารณาต่อว่าท่อที่เราใช้เป็นรูปแบบใด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไหร่ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้คุมงานได้ออกแบบมาอย่างไร เราจึงสามารถกำหนดขนาดของบ่อพักคอนกรีตที่ต้องใช้ได้
บ่อพักคอนกรีตถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของการใช้งาน ดังนี้
1. บ่อพักคอนกรีตสำหรับบ้านพักที่อยู่อาศัย โครงการหมู่บ้านขนาดเล็ก งานตกแต่งสวน หรือโรงงานขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีให้เลือก 3 ขนาดด้วยกัน ได้แก่
- บ่อพักขนาดเล็ก (30X40) สำหรับเชื่อมท่อขนาด .20 เมตร
- บ่อพักขนาดกลาง (40X50) สำหรับเชื่อมท่อขนาด .25 เมตร
- บ่อพักขนาดใหญ่ (45X60) สำหรับเชื่อมท่อขนาด .30 เมตร
2. บ่อพักคอนกรีตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางถึงใหญ่ โครงการหมู่บ้านจัดสรร อาคารสูง คอนโดมิเนียม หรือตามท้องถนน ซึ่งจะเหมาะสำหรับเชื่อมท่อขนาดตั้งแต่ 0.30 – 1.50 เมตร
3. บ่อพักคอนกรีตสำหรับงานฐานราก (บ่อฟุตติ้ง) ตามงานที่ต้องการความรวดเร็วในการวางฐานรากของหมู่บ้านจัดสรร อาคารเอนกประสงค์ หรือแม้แต่งานต่อเติมโรงจอดรถ โดยสามารถเลือกประเภทและขนาดได้ตามการใช้งาน ดังนี้
- บ่อฟุตติ้งแบบธรรมดา มีให้เลือก 2 ขนาด คือ .45X.45 เมตร.และ .50X.50 เมตร
- บ่อฟุตติ้งแบบเสริมเหล็กพิเศษ มีให้เลือก 2 ขนาดคือ .40X.40 เมตร และ .40X1.00 เมตร
บางครั้งบ่อพักคอนกรีตสำเร็จรูปที่นำมาใช้ในแต่ละโครงการอาจมีการกำหนดขนาดของท่อตามมาตรฐานที่แตกต่างกัน และมีการกำหนดความหนาที่เฉพาะเจาะจงให้เหมาะสมกับการก่อสร้างนั้น ๆ ได้ ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกขนาดของท่อ ขนาดของเหล็กที่ใช้เสริมเพื่อความแข็งแรงทนทานของบ่อพักคอนกรีต และเลือกได้ว่าต้องการให้มีการเปิดช่องทางเชื่อมช่อได้กี่ช่องทางเพิ่มเติมได้จากผู้ผลิต
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันนั่นก็คือการตรรจสอบคุณภาพของบ่อพักคอนกรีตอย่างคร่าว ๆ โดยก่อนนำมาใช้ในงานวางระบบต้องแน่ใจก่อนว่าบ่อพักนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร มีการผลิตในรูปแบบใด รองรับน้ำหนักได้ขนาดไหน และเมื่อนำมาใช้งานต้องแน่ใจว่ามีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการชำรุด แตกร้าว มีรอยบิ่น หรือรั่วซึม เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ดินหรือทรายซึมเข้ามายังภายในท่อที่ติดตั้งเอาได้ ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานได้นานมากขึ้น
บ่อพักคอนกรีตมักมาคู่กับงานวางท่อระบายน้ำ
งานวางระบบท่อระบายน้ำ เป็นการระบบท่อที่ใช้สำหรับรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ เช่น อาคารที่พักอาศัย โรงพยาบาล โรงแรม โรงเรียน สถานที่ราชการ เพื่อนำน้ำเสียจากแหล่งเหล่านี้ไปบำบัดหรือระบายไปยังสถานที่รองรับน้ำทิ้งที่ได้วางไว้ ดังนั้น การวางระบบท่อระบายน้ำจึงเป็นสิ่งที่ควรมีการวางแผนอย่างระมัดระวังเพราะมีหลายองค์ประกอบด้วยกันนอกจากแค่ลักษณะการนำไปใช้ในโครงการต่างๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบของโครงการหรือพื้นที่ออกแบบ ปริมาณน้ำที่คาดว่าจะไหลเข้ามายังท่อระบายน้ำทั้งน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนละแวกนั้น และปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ ระดับน้ำในดินในพื้นที่ใกล้เคียงเองก็ไม่ควรมองข้าม
หลักการของการวางระบบท่องระบายน้ำยังเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วง เพราะการไหลของน้ำนั้นจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน่มถ่วงของโลก การวางท่อโดยให้มีความลาดเอียงให้เหมาะสมจะช่วยให้น้ำไหลไปตามทิศทางที่ต้องการได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น การวางระบบท่อระบายน้ำตามบ้าน ตามหลักการควรวางท่อให้มีความลาดเอียงอยู่ที่ 1/200 ซึ่งหมายความว่า ในทุก ๆ ความยาวของท่อ 2 เมตร จะต้องวางท่อให้เอียงลง 1 เมตร โดยนับจากปากท่อมายังปลายท่อ สำหรับงานวางระบบท่อระบายน้ำอื่น ๆ แน่นอนว่าย่อมมีการปรับให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างนั้น ๆ
ตอนนี้ก็ได้ทราบแล้วว่าบ่อพักคอนกรีตมีลักษณะอย่างไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง การเลือกใช้งานควรเลือกตามลักษณะการใช้งานแบบใดเพื่อให้ตรงตามความต้องการและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับงานวางระบบต่าง ๆ บ่อพักคอนกรีตมีความสำคัญพอ ๆ กับท่อระบายน้ำคอนกรีต การออกแบบที่สอดคล้องกันของวัสดุทั้งสองสิ่งจะทำให้งานวางระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานระบบระบายน้ำทรงประสิทธิตามการออกแบบจากวิศวผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ถึงอย่างไรก็ตามนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหัวใจหลักในการวางระบบเท่านั้น ยังมีส่วนสำคัญอีกหลายส่วนที่ทำให้งานก่อสร้างมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น