งานก่อสร้างโครงการวางท่อระบายน้ำจำเป็นต้องตรวจสอบคุณลักษณะของท่อระบายน้ำคอนกรีตให้เหมาะสมและได้มาตรฐานตามที่กำหนดก่อนนำไปใช้งานจริง เพื่อให้ผู้คนในชุมชน หรือผู้คนที่สัญจรไปมาบนท้องถนนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งยังช่วยระบายน้ำเสียและน้ำท่วมขังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังช่วยให้ท่อระบายน้ำคอนกรีตมีอายุการใช้งานอย่างยาวนาน ดังนั้น เมื่อวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานได้รับท่อระบายน้ำคอนกรีตที่มาส่งที่หน้างานแล้ว ควรมีการตรวจสอบท่อระบายน้ำทันที

แนวทางการตรวจสอบท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูป มีดังนี้

1. ขนาดของท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป

ท่อระบายน้ำที่นำมาใช้ต้องมีขนาดที่ระบุไว้ตามแบบ ผู้ควบคุมงานต้องสุ่มวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อระบายน้ำคอนกรีต รวมถึงความหนา และความยาวให้ตรงกับที่มาตรฐานกำหนดไว้ด้วย ซึ่งการวัดความหนาของท่อระบายน้ำคอนกรีตนั้นควรวัดความหนาของผนังท่อทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 2 ตำแหน่งในแนวตั้งฉากกัน สำหรับการตรวจสอบขนาดของท่อระบายน้ำแต่ละประเภทนั้นจะมีการทดสอบที่แตกต่างกันไป

2. ลักษณะภายนอกของท่อระบายน้ำคอนกรีต

ลักษณะของท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กที่ดีมีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นท่อระบายน้ำประเภทไหน จะต้องไม่มีรอยร้าวหรือรอยแตก ส่วนปากท่อระบายน้ำต้องไม่มีรอยบิ่น ผิวโดยรอบท่อระบายน้ำต้องเรียบเนียน ไม่มีรูพรุนหรือตามด แต่อาจมีตำหนิเพียงเล็กน้อยบริเวณปากท่อได้ ทั้งนี้ผู้ควบคุมงานต้องทำการตรวจสอบว่ารอยตำหนิส่งผลให้เกิดความเสียหายในการต่อท่อหรือไม่ หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เกิดความเสียหายต่อการใช้งานจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ ในกรณีที่เป็นท่อระบายน้ำเสริมเหล็กสำเร็จรูปสี่เหลี่ยม ในพิจารณาผนังท่อต้องตั้งฉากกันในด้านที่ติดกันด้วย

นอกจากนี้ จำเป็นต้องตรวจดูเครื่องหมายที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดบนท่อระบายน้ำทุกท่อน กรณีที่เป็นท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องหมาย มอก. และตัวเลขชั้นคุณภาพ ชื่อหรือเครื่องหมายโรงงานที่ผลิต วันที่ผลิตรวมทั้งมีการระบุขนาดและความยาวเป็นมิลลิเมตร(mm)สำหรับท่อกลม รวมถึงเครื่องหมายแสดงถึงส่วนบนท่อเมื่อวาง(กรณี เป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็กวงรี) มีการระบุความกว้างxความยาวxความสูงเป็นเมตร(m)สำหรับท่อเหลี่ยม ด้านบนของท่อระบายน้ำมีการระบุคำว่า “TOP” เพื่อง่ายต่อการใช้งาน มีวันเดือนปีที่ผลิต และชื่อผู้ผลิตหรือโรงงานที่ผลิต

3. คุณภาพการผลิตท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป

ท่อระบายน้ำคอนกรีตทุกท่อนที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้ควบคุมงานควรตรวจสอบเอกสารการรับรอง มอก.เช่นใบอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานทุกครั้งที่รับมอบสินค้า โดยสิ่งที่สำคัญต่อการตรวจสอบคุณภาพของท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป คือ การตรวจคุณภาพภายในของท่อระบายน้ำ เพื่อดูว่าท่อระบายน้ำแต่ละประเภทมีความแข็งแรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ สามารถรองรับแรงกดได้เท่าไหร่ จึงจะเป็นการควบคุมคุณภาพของโครงสร้างงานระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การทดสอบคุณภาพนั้นสามารถตรวจสอบได้เองอย่างง่าย ๆ ไปจนถึงการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบคุณภาพตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ตามแบบมาตรฐานอุตสาหกรรมซึ่งในแต่ละรูปแบบจะมีการเก็บตัวอย่างที่แตกต่างกัน โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาในการตรวจสอบมาตรฐานอุตสาหกรรมในท่อระบายน้ำแต่ละประเภท ดังนี้

3.1. ท่อระบายน้ำคสล ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 สำหรับงานระบายน้ำตาม มอก 128-2560

ท่อระบายน้ำที่นำมาใช้ต้องมีขนาดที่ระบุไว้ตามแบบ ผู้ควบคุมงานต้องสุ่มวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อระบายน้ำคอนกรีต รวมถึงความหนา และความยาวให้ตรงกับที่มาตรฐานกำหนดไว้ด้วย ซึ่งการวัดความหนาของท่อระบายน้ำคอนกรีตนั้นควรวัดความหนาของผนังท่อทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 2 ตำแหน่งในแนวตั้งฉากกัน สำหรับการตรวจสอบขนาดของท่อระบายน้ำแต่ละประเภทนั้นจะมีการทดสอบที่แตกต่างกันไป

  • เหล็กเสริมตามยาว เมื่อทำการสุ่มทุบท่อเพื่อทำการทดสอบท่อระบายน้ำคอนกรีต เหล็กเสริมต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 มิลลิเมตร โดยทั้งความยาวของท่อระบายน้ำคอนกรีต สำหรับท่อระบายน้ำคอนกรีตขนาดไม่เกิน 500 ควรมีเหล็กเสริมตามยาวจำนวนไม่น้อยกว่า 6 เส้น ในขณะที่ท่อระบายน้ำคอนกรีตขนาด 600 ขึ้นไปควรมีเหล็กเสริมตามยาวจำนวนไม่น้อยกว่า 8 เส้น และไม่มีการต่อเหล็กเสริมแต่อย่างใด โดยที่เหล็กเสริมตามยาวแต่ละเส้นต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 มิลลิเมตร
  • เหล็กเสริมตามขวาง เมื่อตรวจดูแล้วท่อระบายน้ำคอนกรีตต้องมีระยะเรียงเหล็กตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และต้องมีปริมาณเหล็กเสริมตามขวางไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ ส่วนการต่อเหล็กเสริมตามขวาง ต้องวางทาบเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของขนาดที่ระบุ แต่ถ้ามีการต่อเชื่อมต้องทาบเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร (โดยถ้าเป็นการเชื่อมหลอมละลายหรือการเชื่อมชน ไม่ต้องมีรอยทาบ) รวมถึงต้องสังเกตว่ามีการใส่หูยกบริเวณส่วนบนของท่อในตำแหน่งที่กำหนดไว้ด้วยหรือไม่(กรณีท่อเสริมเหล็กวงรี)
  • ความหนาคอนกรีตหุ้นเหล็กเสริม ควรเป็นไปตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ โดยสุ่มวัดช่วงความยาวช่วงใดช่วงหนึ่งของท่อระบายน้ำใน 5 ตำแหน่งแนวเดียวกันจากผิวคอนกรีตด้านในถึงผิวเหล็กเสริมตามขวางตามแนวยาวของท่อสำหรับเหล็กเสริมวงกลมชั้นเดียว ส่วนเหล็กเสริมวงกลมสองชั้นให้วัดวงชั้นนอกเพิ่มเข้าไปด้วย โดยวัดจากผิวคอนกรีตด้านนอกถึงผิวเหล็กเสริมตามขวางตามแนวยาวท่อ ในกรณีที่เป็นเหล็กเสริมวงรีจะวัด 2 ส่วนด้วยกัน คือ วัดที่กึ่งกลางผิวด้านบนของท่อระบายน้ำ โดยให้วัดจากผิวคอนกรีตด้านในถึงผิวเหล็กเสริมตามขวางตามแนวยาว และวัดที่กึ่งกลางผิวด้านนอกของท่อ โดยวัดจากผิวคอนกรีตด้านนอกถึงผิวเหล็กเสริมตามยาวของท่อ 5 ตำแหน่งแนวเดียวกัน จากการสุ่มวัดที่ช่วงความช่วงใดช่วงหนึ่ง
  • แรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด สามารถวัดค่าได้จากการเพิ่มขนาดของแรงกดลงบนท่อคอนกรีตตัวอย่างอย่างช้า ๆ จนกระทั่งท่อระบายน้ำคอนกรีตเกิดรอยร้าวขนาด 0.3 มิลลิเมตร เมื่อนำตัวอย่างไปทดสอบจะต้องมีค่าแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุดไม่น้อยกว่าตามที่มาตรฐานกำหนด หากต้องการทดสอบท่อระบายน้ำ คศล. ต้องมีการเก็บตัวอย่าง 1 ชุด โดยระบุแบบว่าเป็นแบบปากลิ้นรางหรือปากระฆัง ชั้นคุณภาพที่เท่าไหร่ รวมถึงขนาด และความยาวด้วย เพื่อทดสอบขนาด แรงอัดแตกและแรงกดสูงสุดให้ตรงกับมาตรฐานที่กำหนด เช่น ท่อระบายน้ำ คสล. ชั้น 2 ขนาด 600 มิลลิเมตร ต้องมีแรงอัดแตกไม่น้อยกว่า 60000 นิวตัน/ต่อความยาวท่อ1เมตร และมีแรงกดสูงสุดไม่น้อยกว่า 90000 นิวตัน/ต่อความยาวท่อ 1 เมตร
  • ความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีต เป็นความเค้นอัดที่แท่งคอนกรีตสามารถรับได้ โดยกำหนดให้ทดสอบเมื่ออายุ 28 วัน ต้องมีค่าความตามแรงอัดตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น ท่อระบายน้ำ คสล. ชั้น 2 ขนาด 600 มิลลิเมตร ต้องมีความต้านแรงอัดของแท่งทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 30 MPa เมื่อนำตัวอย่างไปทำการทดสอบ

 

3.2 ท่อระบายน้ำคสล. สี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ผิวจราจรตาม มอก. 1166-2559

  • เหล็กเสริม ต้องมีพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมไม่น้อยกว่าตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ และเมื่อทุบดูโครงสร้างด้านในต้องมีระยะเรียงของเหล็กเสริมตามแนวยาวระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลาง ไม่มากกว่า 200 มิลลิเมตรจากมาตรฐานที่กำหนด ส่วนระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมตามแนวขวางระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางต้องไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร และไม่มากกว่า 100 มิลลิเมตร ตามความยาวของท่อระบายน้ำ ระยะยื่นเหล็กเสริมตามขวางต้องเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด ส่วนระยะทาบต้องไม่น้อยกว่า 250 มิลลิเมตรจากที่มาตรฐานกำหนด
  • ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม ต้องมีความหนาของคอนกรีตที่หุ้มผิวเหล็กเสริมตามยาวไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร และไม่ควรเกิน 50 มิลลิเมตร ส่วนความหนาของคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กตามแนวขวางต้องไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร
  • ความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีต ท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปทรงกระบอก ต้องมีค่าความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีตที่เก็บจากท่อระบายน้ำตัวอย่างไม่น้อยกว่า 35 MPa ส่วนท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปทรงลูกบาศก์ ต้องมีค่าความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีตที่เก็บจากท่อระบายน้ำตัวอย่างไม่น้อยกว่า 40 MPa

 

3.3 ท่อระบายน้ำคสล. สี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ผิวจราจรตาม มอก. 1165-2559

  • เหล็กเสริม ต้องมีพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมไม่น้อยกว่าตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ และเมื่อทุบดูโครงสร้างด้านในต้องมีระยะเรียงของเหล็กเสริมตามแนวยาวระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลาง ไม่มากกว่า 200 มิลลิเมตรจากมาตรฐานที่กำหนด ส่วนระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมตามแนวขวางระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางต้องไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร และไม่มากกว่า 100 มิลลิเมตร ตามความยาวของท่อระบายน้ำ
  • ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม ต้องมีความหนาของคอนกรีตที่หุ้มผิวเหล็กเสริมตามยาวไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร และไม่ควรมากกว่า 50 มิลลิเมตร ส่วนความหนาของคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กตามแนวขวางต้องไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร ยกเว้นผิวด้านนอกด้านบนของท่อระบายน้ำที่ต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร นอกจากนี้ จำเป็นต้องตรวจสอบความหนาของผนังท่อ กว้างภายในของท่อระบายน้ำ และความสูงภายในท่อประกอบด้วย
  • ความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีต ท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปทรงกระบอก ต้องมีค่าความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีตที่เก็บจากท่อระบายน้ำตัวอย่างไม่น้อยกว่า 35 MPa ส่วนท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปทรงลูกบาศก์ ต้องมีค่าความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีตที่เก็บจากท่อระบายน้ำตัวอย่างไม่น้อยกว่า 40 MPa

3.4 ท่อระบายน้ำคสล. สี่เหลี่ยมสำหรับงานระบายน้ำใต้ผิวจราจรตาม มอก. 1164-2559

  • เหล็กเสริม ต้องมีพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมไม่น้อยกว่าตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ และเมื่อทุบดูโครงสร้างด้านในต้องมีระยะเรียงของเหล็กเสริมตามแนวยาวระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลาง ไม่มากกว่า 200 มิลลิเมตรจากมาตรฐานที่กำหนด ส่วนระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมตามแนวขวางระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางต้องไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร และไม่มากกว่า 100 มิลลิเมตร ตามความยาวของท่อระบายน้ำ
  • ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม ต้องมีความหนาของคอนกรีตที่หุ้มผิวเหล็กเสริมตามยาวไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร และไม่ควรเกิน 50 มิลลิเมตร ส่วนความหนาของคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กตามแนวขวางต้องไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร
  • ความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีต ท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปทรงกระบอก ต้องมีค่าความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีตที่เก็บจากท่อระบายน้ำตัวอย่างไม่น้อยกว่า 35 MPa ส่วนท่อระบายน้ำคอนกรีตสำเร็จรูปทรงลูกบาศก์ ต้องมีค่าความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีตที่เก็บจากท่อระบายน้ำตัวอย่างไม่น้อยกว่า 40 MPa

การตรวจสอบคุณภาพของท่อระบายน้ำคอนกรีตจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียด โดยผู้คุมงานจำเป็นต้องศึกษาเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมที่เฉพาะเจาะจง และควรมีการส่งตัวอย่างทดสอบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นกัน เพื่อให้การทำงานของท่อระบายน้ำมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่ต้องเสี่ยงนำท่อระบายน้ำที่ไม่ผ่านมาตรฐานไปใช้งาน ที่สำคัญควรเลือกโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานเชื่อถือได้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหากท่อระบายน้ำที่ต้องนำมาใช้เกิดมาปัญหาขึ้นมาทำให้ต้องเปลี่ยนทั้งหมด

- Enovathemes