บทความ

ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม
ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ท่อ มอก. สังเกตอย่างไร
ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือท่อ มอก. คือ ท่อระบายน้ำที่ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.128-2560) พร้อมเครื่องหมายจดทะเบียน (โลโก้) ผู้ผลิต ขนาด ชั้นคุณภาพของท่อ และต้องระบุวันเดือนปีที่ผลิตบนตัวท่อระบายน้ำนั้นด้วยซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับงานระบายน้ำ และได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ ตาม มอก. 128-2560 ซึ่งมีชั้นคุณภาพแตกต่างกัน ตั้งแต่ ชั้นที่ 1 , 2 , 3 และ 4 ซึ่งท่อระบายน้ำแต่ละชั้นสามารถรับแรงต้านทานและแรงกดสูงสุดแตกต่างกัน ดังนี้
ท่อชั้น 1 เป็นท่อระบายน้ำชั้นคุณภาพที่มี ความต้านทานแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด มากที่สุด
ท่อชั้น 4 เป็นท่อระบายน้ำชั้นคุณภาพที่มี ความต้านทานแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด ต่ำสุด
ดังนั้นผู้ใช้ควรเลือกใช้ท่อระบายน้ำให้เหมาะสมตามแบบที่กำหนด จึงจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้อีกด้วย
วิธีการสังเกตท่อระบายน้ำมาตรฐานอุตสาหกรรม
ลักษณะภายนอกทั่วไป ท่อระบายน้ำต้องมีผิวเรียบ ปราศจากรอยร้าว และบนตัวท่อนั้น จะต้องระบุ ขนาด ชั้นคุณภาพของท่อ วันเดือนปีที่ผลิต และชื่อโรงงานหรือ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน
ลักษณะภายใน เมื่อผู้ใช้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยการทุบตัวท่อคอนกรีตจะพบเหล็กเสริมตามความยาวท่อ ซึ่งจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 มม. จำนวนไม่น้อยกว่า 8 เส้นสำหรับท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง600 มม. ขึ้นไป จำนวนไม่น้อยกว่า 6 เส้นสำหรับท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 500 มม.และกรณีที่เป็นเหล็กเสริม 2 ชั้น แต่ละชั้นจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 8 เส้น และต้องมีปริมาณเหล็กเสริมตามขวางตามมาตรฐานกำหนด
ปริมาณเหล็กเสริมตามขวาง
ตัวอย่างเช่น เมื่อทำการตรวจสอบท่อระบายน้ำโดยการทดสอบความต้านแรงอัดแตก แรงกดสูงสุด และทุบท่อตัวอย่างแล้วจะพบว่าความต้านแรงอัดแตก แรงกดสูงสุด ตามมาตรฐานกำหนดดังตารางต่อไปนี้
ความต้านแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นวิธีสังเกต ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม ( ท่อมอก.) อย่างง่ายๆ แต่ถ้าจะให้ได้ผลที่สมบูรณ์จะต้องนำท่อไปทดสอบเพื่อหาความต้านทานแรงอัดแตก และแรงกดสูงสุด ซึ่งระบุไว้ในเกณฑ์ตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กำหนดอีกครั้งหนึ่ง