การวางท่อระบายน้ำ เป็นการฝังท่อดินเผาในอดีต หรือ การฝังท่อคอนกรีตเป็นแนวในดิน ซึ่งเป็นการระบายน้ำที่เป็นการนำเอาน้ำที่เกินความต้องการหรือน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเข้าทางท่อบริเวณที่มีการวางท่อเอาไว้ เพื่อให้พื้นที่นั้นมีความสะดวกต่อการใช้งานในระยะยาวต่อไป หรือให้เหมาะสมต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ ท่อระบายน้ำในปัจจุบันมีการออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบตามความต้องการใช้งาน และความสามารถในการรองรับน้ำหนักต่าง ๆ

ลักษณะของท่อระบายน้ำ

ท่อระบายน้ำคอนกรีต มีการออกแบบอยู่ 2 รูปแบบ ทั้งแบบทรงกลม และทรงสี่เหลี่ยม ตามลักษณะการนำไปใช้งานเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

  1. ท่อกลม
      • ท่อกลมแบบลิ้นราง (Tongue and Groove) สำหรับปากท่อแบบนี้เหมาะสำหรับงานระบายน้ำทั่วไป จากอาคารบ้านเรือน โรงงาน และถนนทางระบายน้ำ แบบปากลิ้นราง คือท่อที่ปลายข้างหนึ่งบากเป็นบ่าที่ผิวด้านนอก และปลายอีกข้างหนึ่งบากเป็นบ่าที่ผิวด้านใน เพื่อให้สวมสลับข้างกันได้อย่างเหมาะสม
      • ท่อกลมแบบปากระฆัง (Bell and Spigot) หมายถึง ท่อที่ปลายข้างหนึ่งผายออก และปลายอีกข้างหนึ่งเป็นแนวตรง ปลายข้างที่ผายออกสามารถสวมปลายที่เป็นแนวตรงของท่อแบบและขนาดเดียวกันสวมต่อได้ในลักษณะคล้ายระฆัง มีจุดเด่นตรงที่สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี อาจมีการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการสวมแหวนยางระหว่างท่อเพื่อป้องกันการรั่วซึม สำหรับรูปแบบนี้มักเสริมความทนทานด้วยการผลิตแบบเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มักใช้กับงานระบายน้ำเสียที่ทีการปนเปื้อนสารพิษภายในโรงงาน
      • ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กแบบดันลอด (Jacking Pipe) เหมาะกับงานดันท่อโดยเฉพาะ ทั้งงานวางระบบระบายน้ำ งานวางระบบสายไฟใต้พื้นผิวการจราจรและสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างจำกัดเพราะไม่ต้องใช้การขุดเปิดแนวที่กว้างมากนัก สำหรับการวางท่อในลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการเจาะอุโมงค์ขนาดเล็กแล้วใช้การดันท่อเข้าไปยังอุโมงค์ที่ขุดเจาะไว้ ตัวท่อจึงต้องอาศัยความแข็งแรงที่มากพอในการรองรับแรงดันต่าง ๆ เช่น แรงดันน้ำหนักกดทับด้านบน แรงดันดิน แรงดันน้ำ และแรงดันจากแม่แรงไฮโดรลิคสำหรับดันท่อ
  2. ท่อเหลี่ยม

ท่อเหลี่ยม หรือ ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กแบบสี่เหลี่ยม (Box Culvert) เป็นท่อระบายน้ำรูปแบบนี้ มักถูกออกแบบมาสำหรับงานระบายน้ำในปริมาณที่มาก เน้นความแข็งแรงคงทน และรองรับน้ำหนักมากได้ดี ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้กับงานระบายน้ำในพื้นที่คมนาคมตามทางเท้าหรือผิวทางจราจร เช่น ถนนทางหลวง และพื้นที่ลำคลอง

ประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีต

งานวางท่อระบายน้ำคอนกรีต ต้องคำนึงถึงประเภทและชนิดของท่อที่ใช้ให้เหมาะสมกับงานเป็นหลัก โดยประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีตสามารถแบ่งได้ ดังนี้
    1. ท่อระบายน้ำคอนกรีต ท่อคอนกรีต หรือ ท่อ ค.ม.ล. ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีตในอัตราส่วนที่แตกต่างกันตามการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เหมาะสำหรับงานเดินท่อใต้ดิน ทั้งท่อน้ำทิ้ง และท่อส่งน้ำ โดยจะมีความแข็งแรงสองระดับด้วยกัน คือ standard และ extra strength สำหรับท่อคอนกรีตเหมาะกับงานก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร งานสวนสาธารณะ ลานถนนคอนกรีต และบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านไม่มาก สำหรับท่อคอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทางเดินเท้า บริเวณสวนที่ไม่มีรถวิ่งผ่าน
    2. ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ท่อ คสล. คือ ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมแรงรูปแบบหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักด้วยการนำเอาเหล็กมาเป็นตัวช่วย เนื่องจากเหล็กมีความสามารถในการรับแรงดึงได้สูง ส่วนตัวคอนกรีตมีความสามารถในการรับแรงดึงต่ำ เมื่อนำคอนกรีตและเหล็กมารวมเข้าไว้ด้วยกันจะทำให้เกิดการถ่ายแรงระหว่างกันภายใน จึงช่วยให้มีความสามารถในการรับแรงหรือน้ำหนักของวัตถุมากขึ้น หรืออธิบายง่าย ๆ คือ คอนกรีตจะทำหน้าที่รับแรงอัด ส่วนเหล็กจะช่วยเสริมแรงดึงนั่นเอง
      ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ยังมีการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า ท่อ มอก. โดยมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของวัสดุ ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ปูน มวลผสม เถ้าลอย สารเพิ่มเติม เหล็กเสริม และน้ำ เป็นต้น รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การทำและคุณลักษณะต่าง ๆ ของท่อ เช่น ความหนา ความต้านแรงอัด เป็นต้น โดยมีเครื่องหมายและฉลากกำกับเอาไว้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพด้านการใช้งานและความปลอดภัยจากการนำไปใช้ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงทนทาน และรองรับน้ำหนักมากๆ เช่น งานก่อสร้างถนน หรือบริเวณที่มีรถใหญ่วิ่งผ่าน โดยสามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก 4 แบบ ตามความแข็งแรง ตามความสามารถในการรับแรงต้านทานและแรงกดสูงสุดที่แตกต่างกันในแต่ละชั้น ได้แก่

      • ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เหมาะสำหรับงานโครงการหมู่บ้านจัดสรรทั่วไป โครงการส่วนบุคคลที่รถวิ่งผ่าน มีน้ำหนักไม่มากนัก มากนัก 3 ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก
      • ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก มอก. ชั้น3 (มอก. 3) เป็นท่อที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนัก โดยส่วนใหญ่งานราชการ หรือโรงงานขนาดใหญ่
      • ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก มอก. ชั้น2 (มอก. 2) เป็นท่อที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่า มอก. 3 โดยส่วนใหญ่ เช่นกรมทางหลวง การนิคมอุตสาหกรรม งานโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่มักจะเลือกใช้ท่อประเภทนี้
      • ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก มอก. ชั้น1 (มอก. 1) เป็นท่อที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมชั้นสูงสุด เหมาะสำหรับงานสนามบิน หรืองานท่าเรือ

 

ท่อระบายน้ำคอนกรีตทั้งแบบท่อคอนกรีต และท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก มักจะเชื่อมตัวกันด้วยการเข้าลิ้น (Tongue and groove) มีปะเก็นยางขั้นระหว่างกลางสำหรับงานท่อน้ำทิ้ง หรือแบบสวม (Bell and spigot) อัดด้วยปะเก็นยางสำหรับงานท่อส่งน้ำด้วยความดันตามลักษณะการใช้งาน
งานวางท่อระบายน้ำไม่ใช่แค่เลือกเฉพาะชนิดหรือประเภทตามการใช้งานของท่อเท่านั้น แต่ต้องเลือกตามความเหมาะสม และต้องได้มาตรฐานการของท่อระบายน้ำ เพราะการจะเลือกใช้ท่อประเภทใดนั้นมีผลต่อการรับรอง การตรวจสอบต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ท่อระบายน้ำมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

การเลือกใช้งานบ่อพักคอนกรีตให้เหมาะสมในแต่ละประเภท

ก่อนที่จะเลือกว่าควรใช้บ่อพักแบบไหนต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการนำไปใช้งานกับการก่อสร้างรูปแบบใด เช่น บ้านพัก คอนโดมิเนียม โรงงานอุตสาหกรรม ถนน และทางหลวง เป็นต้น เมื่อทราบแล้วเราต้องพิจารณาต่อว่าท่อที่เราใช้เป็นรูปแบบใด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไหร่ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้คุมงานได้ออกแบบมาอย่างไร เราจึงสามารถกำหนดขนาดของบ่อพักคอนกรีตที่ต้องใช้ได้
บ่อพักคอนกรีตถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของการใช้งาน ดังนี้
1. บ่อพักคอนกรีตสำหรับบ้านพักที่อยู่อาศัย โครงการหมู่บ้านขนาดเล็ก งานตกแต่งสวน หรือโรงงานขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีให้เลือก 3 ขนาดด้วยกัน ได้แก่

  • บ่อพักขนาดเล็ก (30X40) สำหรับเชื่อมท่อขนาด .20 เมตร
  • บ่อพักขนาดกลาง (40X50) สำหรับเชื่อมท่อขนาด .25 เมตร
  • บ่อพักขนาดใหญ่ (45X60) สำหรับเชื่อมท่อขนาด .30 เมตร

2. บ่อพักคอนกรีตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางถึงใหญ่ โครงการหมู่บ้านจัดสรร อาคารสูง คอนโดมิเนียม หรือตามท้องถนน ซึ่งจะเหมาะสำหรับเชื่อมท่อขนาดตั้งแต่ 0.30 – 1.50 เมตร
3. บ่อพักคอนกรีตสำหรับงานฐานราก (บ่อฟุตติ้ง) ตามงานที่ต้องการความรวดเร็วในการวางฐานรากของหมู่บ้านจัดสรร อาคารเอนกประสงค์ หรือแม้แต่งานต่อเติมโรงจอดรถ โดยสามารถเลือกประเภทและขนาดได้ตามการใช้งาน ดังนี้

  • บ่อฟุตติ้งแบบธรรมดา มีให้เลือก 2 ขนาด คือ .45X.45 เมตร.และ .50X.50 เมตร
  • บ่อฟุตติ้งแบบเสริมเหล็กพิเศษ มีให้เลือก 2 ขนาดคือ .40X.40 เมตร และ .40X1.00 เมตร

บางครั้งบ่อพักคอนกรีตสำเร็จรูปที่นำมาใช้ในแต่ละโครงการอาจมีการกำหนดขนาดของท่อตามมาตรฐานที่แตกต่างกัน และมีการกำหนดความหนาที่เฉพาะเจาะจงให้เหมาะสมกับการก่อสร้างนั้น ๆ ได้ ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกขนาดของท่อ ขนาดของเหล็กที่ใช้เสริมเพื่อความแข็งแรงทนทานของบ่อพักคอนกรีต และเลือกได้ว่าต้องการให้มีการเปิดช่องทางเชื่อมช่อได้กี่ช่องทางเพิ่มเติมได้จากผู้ผลิต

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกันนั่นก็คือการตรรจสอบคุณภาพของบ่อพักคอนกรีตอย่างคร่าว ๆ โดยก่อนนำมาใช้ในงานวางระบบต้องแน่ใจก่อนว่าบ่อพักนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร มีการผลิตในรูปแบบใด รองรับน้ำหนักได้ขนาดไหน และเมื่อนำมาใช้งานต้องแน่ใจว่ามีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการชำรุด แตกร้าว มีรอยบิ่น หรือรั่วซึม เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ดินหรือทรายซึมเข้ามายังภายในท่อที่ติดตั้งเอาได้ ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานได้นานมากขึ้น

มาตรฐานอื่นๆ สำหรับงานวางท่อระบายน้ำ

ท่อระบายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของงานระบบระบายน้ำ และในทุก ๆ ขั้นตอนจำเป็นต้องมีการควบคุมกำกับดูแลเพื่อให้ทั้งระบบมีมาตรฐาน สำหรับประเทศไทยเองนอกจากจะมี มอก. คอยกำกับมาตรฐานของท่อระบายน้ำแล้ว ยังมีวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ที่คอยกำกับดูแลในส่วนอื่น ๆ เช่นกัน แต่มาตรฐานของ วสท. อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด ผู้ใช้งานจำเป็นต้องพิจารณามาตรฐานสากลเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยด้านการใช้งาน เช่น
  • International Organization for Standardization (ISO) เป็นมาตรฐานการวัดคุณภาพองค์กรต่าง ๆ เพื่อรับรองระบบการบริหารและการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน มีศูนย์กลางอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ช่วยประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกำหนดมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งมาตรฐานด้านการจัดการบริหาร มาตรฐานของงานเทคนิคสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ระดับของมาตรฐานการวัดคุณภาพด้านการจัดการองค์กร จะแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ได้แก่ ISO9000, ISO9001, ISO9002 และ ISO9003 ส่วนมาตรฐานการวัดคุณภาพด้านการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเป็น ISO1400 สำหรับงานระบบท่อเอง วาล์ว ปั๊ม ก็มีมาตรฐานของ ISO มาเกี่ยวข้อง
  • Nation Sanitation Foundation (NSF) คือ สมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติ เป็นองค์กรที่มีการดูและกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค เน้นเกี่ยวกับการรับรองผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของอาหาร น้ำ อากาศภายในสถานที่ และสภาพแวดล้อม รวมถึงระบบต่าง ๆ เช่น มาตรฐานของระบบท่อน้ำ
  • American Petroleum Institute (API) เป็นองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจการด้านปิโตเลียมของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การวิจัยพัฒนา การเก็บข้อมูลทางสถิติ การออกแบบมาตรฐาน และการรับรองมาตรฐาน เช่น การกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับงานท่อในอุตสาหกรรมปิโตเลียม

 

ดังนั้น การออกแบบระบบท่อไม่ใช่แค่การกำหนดขนาดท่อให้เหมาะสมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบด้านอื่นด้วย เช่น ท่อต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอในการส่งผ่านของเหลวไปด้วยความดันที่ไม่ต้องสูญเสีย ในขณะที่ต้องไม่ใหญ่จนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป ท่อมีมาตรฐานหรือไม่ อุปกรณ์เสริมท่อต้องเป็นแบบไหน การกำหนดแนวหรือเส้นทางวางท่อเป็นอย่างไร และมีวิธีการติดตั้งที่เหมาะสมกับแผนงานหรือโครงที่ออกแบบไว้หรือไม่ ที่สำคัญควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยรอบด้วย

- Enovathemes